
การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การ ไมเคิล แฮมเมอร์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Reengineering The Corporation ในปี 1993 ริเอ็นจิเนียริ่ง หรือ การรื้อปรับระบบ มีความหมายหลายความหมาย ดังนี้
1. หมายถึง การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน การทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนาน แล้วหากระบวนการใหม่ที่ทันสมัย ตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ
2. หมายถึง การพิจารณาพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้ง อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ติดอยู่กับกฎข้อบังคับเดิม
3. หมายถึง รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคน เป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจกรรมขึ้นมาใหม่ การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์กร ทั้งการตลาด การผลิต บุคลากร การบริการและทุกระบบ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ซึ่งมีหลักการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง 3 ประการ คือ
1. กระบวนการใดที่มีปัญหาหนักมากที่สุด
2. กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด
3. ความเป็นไปได้ที่จะประสบผู้สำเร็จในการเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ
2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน
3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน
4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ
5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง
6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน
รีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อให้องค์กรอยู่รอด
ความจำเป็นที่จะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีเอ็นจิเนียริ่งได้สรุปถึงสถานการณ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่องค์กรจะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ดังนี้ เมื่อผลการปฏิบัติงานหรือยอดขาย (กำไร) ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่ำกว่าคู่แข่งมาก เมื่อองค์กรเผชิญกับภาวะวิกฤต (Crisis) เช่น ส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก เมื่อองค์กรต้องการผลลัพธ์ (ของการปรับรื้อระบบ) อย่างรวดเร็วและได้ผลมากกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องการผลมหาศาล เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดขององค์กร เมื่อคู่แข่งได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขึ้นใหม่ได้ดำเนินการไปก่อนแล้ว ทำให้ต้องปรับปรุงไปตามด้วย
5 ขั้นตอน ของการรีเอ็นจิเนียริ่ง
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคต และมีความชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของ กระบวนการปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกระบวนการใหม่
ขั้นตอนที่ 5 การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ตัวอย่างผลของการ reengineering ของไทยพาณิชย์
1. หมายถึง การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน การทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนาน แล้วหากระบวนการใหม่ที่ทันสมัย ตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ
2. หมายถึง การพิจารณาพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้ง อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ติดอยู่กับกฎข้อบังคับเดิม
3. หมายถึง รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคน เป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจกรรมขึ้นมาใหม่ การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์กร ทั้งการตลาด การผลิต บุคลากร การบริการและทุกระบบ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ซึ่งมีหลักการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง 3 ประการ คือ
1. กระบวนการใดที่มีปัญหาหนักมากที่สุด
2. กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด
3. ความเป็นไปได้ที่จะประสบผู้สำเร็จในการเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ
2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน
3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน
4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ
5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง
6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน
รีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อให้องค์กรอยู่รอด
ความจำเป็นที่จะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีเอ็นจิเนียริ่งได้สรุปถึงสถานการณ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่องค์กรจะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ดังนี้ เมื่อผลการปฏิบัติงานหรือยอดขาย (กำไร) ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่ำกว่าคู่แข่งมาก เมื่อองค์กรเผชิญกับภาวะวิกฤต (Crisis) เช่น ส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก เมื่อองค์กรต้องการผลลัพธ์ (ของการปรับรื้อระบบ) อย่างรวดเร็วและได้ผลมากกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องการผลมหาศาล เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดขององค์กร เมื่อคู่แข่งได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขึ้นใหม่ได้ดำเนินการไปก่อนแล้ว ทำให้ต้องปรับปรุงไปตามด้วย
5 ขั้นตอน ของการรีเอ็นจิเนียริ่ง
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคต และมีความชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของ กระบวนการปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกระบวนการใหม่
ขั้นตอนที่ 5 การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ตัวอย่างผลของการ reengineering ของไทยพาณิชย์
แพ้น้ำใจ...ไทยพาณิชย์ 

ปกติไม่ค่อยได้แวะเวียนเข้าไปในธนาคารใดๆ ซักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้บริการธนาคารกรุงไทย เพราะใช้บัตรเครดิตเค้าอยู่ วันนี้ไปกินข้าวที่หน้ามอ. พร้อมกับลูกชาย เดินและวิ่งย่อยอาหารกลางวัน มาจนถึงธนาคารไทยพาณิชย์ในมหาวิทยาลัย เลยแวะเอาเงินไปฝากตามประสาคนเงินเหลือ (นี่ๆ ในชีวิตจริงจะมีโอกาสพูดแบบนี้บ่อยมั้ยนี่ น้ำหน้าคนอย่างฉัน หุหุ)
จำได้ว่าเป็นลูกค้าของที่นี่ตั้งแต่เข้ามาทำงานในวันแรกๆ เพราะต้องมาเปิดบัญชีเงินเดือนไว้ และจำได้อีกว่าเมื่อสองปีก่อนได้รับการบริการที่ไม่ค่อยน่าประทับใจแบบเลือกปฏิบัติของพนักงาน แต่มาวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อยากจะยกมือไหว้ขอบคุณ คุณผู้หญิงที่เป็นคน reengineering ธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นอย่างเช่น ณ วันนี้
แต่เนื่องจากเคยอ่านผ่านตามานานแล้ว เลยจำชื่อเค้าไม่ได้ จำได้แค่ว่า เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่งเท่านั้น เอาไว้วันหลังถ้าไม่ลืม จะมา update เรื่องราวการรีเบรนและองค์กรของไทยพาณิชย์ให้ฟัง แต่วันนี้แค่เดินเข้าไปในธนาคาร มีคนช่วยเปิดประตูให้ มีพนักงานเข้าทักทาย และอาสากรอกใบฝากให้ แต่ขอกรอกเองดีกว่าเพราะไม่ได้เอาสมุดบัญชีมา ต้องมาสกดชื่อให้คนอื่นเขียนให้ก็รู้สึกเกรงใจเหมือนกัน
เมื่อพาลูกชายไปด้วย เด็กชายเลยได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เชิญไปนั่งเก้าอี้สีม่วงของเด็ก พนักงานถามว่าทานลูกอมไหมค่ะ แชทตอบว่า ไม่กินครับ มันหวานเดี๋ยวฟันหลอ พนักงานยังไม่ลดละ ถามว่าแล้วคุณแม่ทานได้ไหมค่ะ แชทตอบว่า แม่ก็กินไม่ได้ครับ เพราะกินแล้วอ้วน แป่ว!!!! เลย ไม่ต้องไปบอกรายละเอียดเค้าขนาดนั้นก็ได้ลูกชั้น!!! ทำเอาแม่อายไปเลย : P
ฝากเงินเสร็จแล้ว กำลังจะกลับ แชทมากระซิบว่า อยากได้หมี teddy สีม่วงที่ตั้งโชว์อยู่ แต่คงกระซิบดังไปหน่อย คุณผู้จัดการใหญ่และพนักงานสาวอีกสองคน เลยกรูมาหาแม่ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการจะได้หมีอย่างรวดเร็วและครบถ้วน แม่รับคำอย่างงงๆ ควักเงินในกระเป๋า เพื่อเปิดบัญชีให้แชท และยังต้องถูกหักเงินเดือนอีก 36 เดือน เพื่อเป็นเงินฝากสำหรับทุนการศึกษาลูก
เวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วกระพริบตา ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ขณะที่รอก็มีทีวีให้ดู เสียงนางร้ายและนางเอกทะเลาะกันแว้ดๆ ในทีวี คุณพี่พนักงานผู้หญิงรีบเปลี่ยนช่องให้ทันที เกรงว่าคำด่าของนางร้าย จะระคายหูลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เค้ากำลังมุ่งมั่นจะเป็น world class กัน เลยมีการปรับเปลี่ยนกันตั้งแต่พนักงาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด
ทำให้ความประทับใจและประหลาดใจ เกิดกับลูกค้าหลายๆ คน รวมถึงฉันและลูกชาย ขนาดยอมเปิดบัญชีใหม่ เพื่อจะได้อุ้มหมีสีม่วงออกมาตัวหนึ่ง อยากให้องค์กรของฉันเป็นแบบนี้บ้างจัง ทุกคนมี "จิตบริการ" กันถ้วนทั่ว ไม่ใช่ว่าคนที่เต็มใจให้บริการก็ทำแทบตาย แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยคิดจะช่วยกันเลย ให้ตายสิ!!! บ่นไปก็คงเท่านั้น ของแบบนี้มันคงอยู่ที่ "น้ำใจ" ของแต่ละคนมั้ง!!!
จำได้ว่าเป็นลูกค้าของที่นี่ตั้งแต่เข้ามาทำงานในวันแรกๆ เพราะต้องมาเปิดบัญชีเงินเดือนไว้ และจำได้อีกว่าเมื่อสองปีก่อนได้รับการบริการที่ไม่ค่อยน่าประทับใจแบบเลือกปฏิบัติของพนักงาน แต่มาวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อยากจะยกมือไหว้ขอบคุณ คุณผู้หญิงที่เป็นคน reengineering ธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นอย่างเช่น ณ วันนี้
แต่เนื่องจากเคยอ่านผ่านตามานานแล้ว เลยจำชื่อเค้าไม่ได้ จำได้แค่ว่า เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่งเท่านั้น เอาไว้วันหลังถ้าไม่ลืม จะมา update เรื่องราวการรีเบรนและองค์กรของไทยพาณิชย์ให้ฟัง แต่วันนี้แค่เดินเข้าไปในธนาคาร มีคนช่วยเปิดประตูให้ มีพนักงานเข้าทักทาย และอาสากรอกใบฝากให้ แต่ขอกรอกเองดีกว่าเพราะไม่ได้เอาสมุดบัญชีมา ต้องมาสกดชื่อให้คนอื่นเขียนให้ก็รู้สึกเกรงใจเหมือนกัน
เมื่อพาลูกชายไปด้วย เด็กชายเลยได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เชิญไปนั่งเก้าอี้สีม่วงของเด็ก พนักงานถามว่าทานลูกอมไหมค่ะ แชทตอบว่า ไม่กินครับ มันหวานเดี๋ยวฟันหลอ พนักงานยังไม่ลดละ ถามว่าแล้วคุณแม่ทานได้ไหมค่ะ แชทตอบว่า แม่ก็กินไม่ได้ครับ เพราะกินแล้วอ้วน แป่ว!!!! เลย ไม่ต้องไปบอกรายละเอียดเค้าขนาดนั้นก็ได้ลูกชั้น!!! ทำเอาแม่อายไปเลย : P
ฝากเงินเสร็จแล้ว กำลังจะกลับ แชทมากระซิบว่า อยากได้หมี teddy สีม่วงที่ตั้งโชว์อยู่ แต่คงกระซิบดังไปหน่อย คุณผู้จัดการใหญ่และพนักงานสาวอีกสองคน เลยกรูมาหาแม่ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการจะได้หมีอย่างรวดเร็วและครบถ้วน แม่รับคำอย่างงงๆ ควักเงินในกระเป๋า เพื่อเปิดบัญชีให้แชท และยังต้องถูกหักเงินเดือนอีก 36 เดือน เพื่อเป็นเงินฝากสำหรับทุนการศึกษาลูก
เวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วกระพริบตา ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ขณะที่รอก็มีทีวีให้ดู เสียงนางร้ายและนางเอกทะเลาะกันแว้ดๆ ในทีวี คุณพี่พนักงานผู้หญิงรีบเปลี่ยนช่องให้ทันที เกรงว่าคำด่าของนางร้าย จะระคายหูลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เค้ากำลังมุ่งมั่นจะเป็น world class กัน เลยมีการปรับเปลี่ยนกันตั้งแต่พนักงาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด
ทำให้ความประทับใจและประหลาดใจ เกิดกับลูกค้าหลายๆ คน รวมถึงฉันและลูกชาย ขนาดยอมเปิดบัญชีใหม่ เพื่อจะได้อุ้มหมีสีม่วงออกมาตัวหนึ่ง อยากให้องค์กรของฉันเป็นแบบนี้บ้างจัง ทุกคนมี "จิตบริการ" กันถ้วนทั่ว ไม่ใช่ว่าคนที่เต็มใจให้บริการก็ทำแทบตาย แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยคิดจะช่วยกันเลย ให้ตายสิ!!! บ่นไปก็คงเท่านั้น ของแบบนี้มันคงอยู่ที่ "น้ำใจ" ของแต่ละคนมั้ง!!!
แหล่งที่มาของข้อมูล