วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล

หน่วยแสดงผล (Output Unit)หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็หายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ

จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ


จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์ จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นจอภาพที่ใช้หลักการเรืองแสงเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในผลึกเหลว ทำให้จอภาพมีความหนาไม่มาก น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่จะขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม และActive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin File Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่า ในปัจจุบันจอภาพ
แบบ TFT เริ่มนิยมนำมาใช้แทนจอภาพ CRT มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากราคาเริ่มต่ำลง ในขณะที่มีข้อดีคือใช้เนื้อที่ในการวางน้อย น้ำหนักเบา กินไฟต่ำ และมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก


อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังแสงสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูงภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุด คิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนดการวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)

อุปกรณ์เสียง (Audio Output) หน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้งสามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียบกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย เทคโนโลยีด้านเสียงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Waveform audio หรือเรียกว่า Digital audio และMIDI (Musical Instrument Digital Interface)


หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์
เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้เป็นสองชนิด คือ 1. เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ

เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน 2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-page per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ


เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของงานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)


เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สี ได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกในปัจจุบันจะมีคุณภาพ ในการพิมพ์ต่างกันไปตามเทคโนโลยีการฉีดหมึกและจำนวนสีที่ใช้ โดยรุ่นที่มีราคาต่ำมักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ำเงิน (cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คุณภาพของสีดำที่ไม่ดีนัก จึงมีเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่าที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดำ (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกในปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ำเงินอ่อน (light cyan) และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น และบางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดำจางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุดจะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้ว เพิ่มความร้อน
ให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้ เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก


เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาดเส้นสายต่าง ๆ ทำให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทำให้ได้เส้นที่ไม่ต่อเนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ที่ต้องการความสวยงามและความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียน ในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก

แหล่งข้อมูล
http://www.tutor-tan.com/article/detail_article.php?aid=333

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ

ความนำ
ในวงการสถาปัตยกรรมปัจจุบัน มีเรื่อง เกี่ยวกับ เทคโนโลยี อาคาร ที่กำลัง
เป็นที่สนใจ อย่างมาก เรื่องหนึ่ง คือ การออกแบบ อาคาร อัจฉริยะ หรือ
Intelligent building โดย เป็นเรื่องที่ กำลัง อยู่ ในความ สนใจ ของสถาปนิก
ทั่วโลก มีข่าวว่า ที่ประเทศในแถบ ยุโรป ได้จัดตั้ง กลุ่มที่ เกี่ยวกับ เรื่องนี้
โดยเฉพาะ มีชื่อว่า “European Intelligent Building Group” มีการประชุม และ
สัมมนา ทางวิชาการ เรื่องนี้ หลายครั้ง ใน หนึ่งปี รวมทั้ง สถานศึกษา หลาย
แห่ง ในต่างประเทศ เปิดสอนวิชา เทคโนโลยี การออกแบบ อาคารอัจฉริยะ
ในระดับ ประกาศนียบัตร (Diploma) อีกด้วย จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็น
ว่า ในต่างประเทศ มีการตื่นตัวในเรื่องนี้กันอย่างมาก
บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะโดยสังเขปเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เนื่องจากเมื่อราว 4-5ปี ที่ผ่านมา มีการ
นำ คำๆนี้ ไปใช้ผิดความจริง เป็นอย่างมาก ในการโฆษณาขายอาคาร เจ้าของอาคารเกือบทุกอาคารในขณะนั้นจะกล่าวอ้างว่าอาคารของตน
เป็นอาคารอัจฉริยะ โดยหวัง สร้างภาพ เพื่อผลในการขาย พื้นที่ ทำให้ผู้คนทั่วไป เกิดความสับสน และ เข้าใจผิดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นบทความนี้ยังมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่สนใจเรื่องเรื่องนี้ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
อาคารอัจฉริยะคืออะไร
ในการเรียกตึกว่าเป็นอาคารอัจฉริยะนั้นเราใช้เรียกในแง่ตรงข้ามกับที่ใช้ในวงการกล้องถ่ายรูป ตัวอย่างเช่น กล้องที่ใช้งานง่ายๆ เป็นระบบ
อัตโนมัติ ทั้งหมด โดยคนใช้ไม่ต้องทำอะไร นอกจากเล็งภาพ กดปุ่ม เราเรียกกล้อง ชนิดนี้ว่า กล้องปัญญาอ่อน ไม่ยักเรียกว่า กล้องอัจฉริยะ
ซึ่งน่าจะเรียกชื่อนี้ มากกว่า น่ากลัวคนตั้งชื่อ จะประชดคนใช้งาน เสียมากกว่า กระมัง ถือเป็นโชคดีที่วงการอสังหาริมทรัพย์ไม่ตามอย่างการ
เรียกชื่อในวงการกล้องถ่ายรูป ขืนใช้ แนวทางเดียวกันคงไม่มีใคร มาซื้อตึก หรือเช่าพื้นที่ในอาคาร แบบนี้เป็นแน่
อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech Real
Estate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้น
ฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย ไม่แน่ว่า
ฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “Genius Architectural” ก็ได้
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ
“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุม
อุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา โดยเจ้าของอาคาร และ ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการควบคุมนี้ โดยการสั่งการทำงานของอุปกรณ์
ต่างๆได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางนั่นเอง นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ และ ระบบ สื่อสารส่วนกลางยังใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆอีกด้วย”
คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคาร
ธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคาร
ได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้ง
จากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ
ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุม
การทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้
สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ
แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำ
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้
ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน
อาคารอัจฉริยะในยุคแรกๆเช่นอาคาร Lloyds นั้นเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น โครงการนี้ ประกอบด้วย ระบบ ควบคุมอาคาร แบบ
อัตโนมัติ ที่ใช้ เทคโนโลยี ใหม่ล่าสุด ในขณะนั้น มีระบบบริหารอาคาร (Building Management System) ชั้นยอด แต่สิ่งที่ขาดไปคือ
ความสามารถในการประสานระบบทั้งหมดให้สามารถทำงานร่วมกัน ระบบส่วนใหญ่ในยุคนั้นถูกออกแบบให้ทำงานแยกกันเป็นอิสระ ปัญหา
ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเจ้าของอาคารไม่เต็มใจที่จะต้องลงทุนในระบบนี้ เนื่องจาก ไม่เห็น ความสำคัญ ในเรื่องนี้

องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)
โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )
ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย
สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม