วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ

ความนำ
ในวงการสถาปัตยกรรมปัจจุบัน มีเรื่อง เกี่ยวกับ เทคโนโลยี อาคาร ที่กำลัง
เป็นที่สนใจ อย่างมาก เรื่องหนึ่ง คือ การออกแบบ อาคาร อัจฉริยะ หรือ
Intelligent building โดย เป็นเรื่องที่ กำลัง อยู่ ในความ สนใจ ของสถาปนิก
ทั่วโลก มีข่าวว่า ที่ประเทศในแถบ ยุโรป ได้จัดตั้ง กลุ่มที่ เกี่ยวกับ เรื่องนี้
โดยเฉพาะ มีชื่อว่า “European Intelligent Building Group” มีการประชุม และ
สัมมนา ทางวิชาการ เรื่องนี้ หลายครั้ง ใน หนึ่งปี รวมทั้ง สถานศึกษา หลาย
แห่ง ในต่างประเทศ เปิดสอนวิชา เทคโนโลยี การออกแบบ อาคารอัจฉริยะ
ในระดับ ประกาศนียบัตร (Diploma) อีกด้วย จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็น
ว่า ในต่างประเทศ มีการตื่นตัวในเรื่องนี้กันอย่างมาก
บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะโดยสังเขปเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เนื่องจากเมื่อราว 4-5ปี ที่ผ่านมา มีการ
นำ คำๆนี้ ไปใช้ผิดความจริง เป็นอย่างมาก ในการโฆษณาขายอาคาร เจ้าของอาคารเกือบทุกอาคารในขณะนั้นจะกล่าวอ้างว่าอาคารของตน
เป็นอาคารอัจฉริยะ โดยหวัง สร้างภาพ เพื่อผลในการขาย พื้นที่ ทำให้ผู้คนทั่วไป เกิดความสับสน และ เข้าใจผิดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นบทความนี้ยังมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่สนใจเรื่องเรื่องนี้ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
อาคารอัจฉริยะคืออะไร
ในการเรียกตึกว่าเป็นอาคารอัจฉริยะนั้นเราใช้เรียกในแง่ตรงข้ามกับที่ใช้ในวงการกล้องถ่ายรูป ตัวอย่างเช่น กล้องที่ใช้งานง่ายๆ เป็นระบบ
อัตโนมัติ ทั้งหมด โดยคนใช้ไม่ต้องทำอะไร นอกจากเล็งภาพ กดปุ่ม เราเรียกกล้อง ชนิดนี้ว่า กล้องปัญญาอ่อน ไม่ยักเรียกว่า กล้องอัจฉริยะ
ซึ่งน่าจะเรียกชื่อนี้ มากกว่า น่ากลัวคนตั้งชื่อ จะประชดคนใช้งาน เสียมากกว่า กระมัง ถือเป็นโชคดีที่วงการอสังหาริมทรัพย์ไม่ตามอย่างการ
เรียกชื่อในวงการกล้องถ่ายรูป ขืนใช้ แนวทางเดียวกันคงไม่มีใคร มาซื้อตึก หรือเช่าพื้นที่ในอาคาร แบบนี้เป็นแน่
อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech Real
Estate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้น
ฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย ไม่แน่ว่า
ฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “Genius Architectural” ก็ได้
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ
“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุม
อุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา โดยเจ้าของอาคาร และ ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการควบคุมนี้ โดยการสั่งการทำงานของอุปกรณ์
ต่างๆได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางนั่นเอง นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ และ ระบบ สื่อสารส่วนกลางยังใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆอีกด้วย”
คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคาร
ธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคาร
ได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้ง
จากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ
ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุม
การทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้
สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ
แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำ
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้
ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน
อาคารอัจฉริยะในยุคแรกๆเช่นอาคาร Lloyds นั้นเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น โครงการนี้ ประกอบด้วย ระบบ ควบคุมอาคาร แบบ
อัตโนมัติ ที่ใช้ เทคโนโลยี ใหม่ล่าสุด ในขณะนั้น มีระบบบริหารอาคาร (Building Management System) ชั้นยอด แต่สิ่งที่ขาดไปคือ
ความสามารถในการประสานระบบทั้งหมดให้สามารถทำงานร่วมกัน ระบบส่วนใหญ่ในยุคนั้นถูกออกแบบให้ทำงานแยกกันเป็นอิสระ ปัญหา
ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเจ้าของอาคารไม่เต็มใจที่จะต้องลงทุนในระบบนี้ เนื่องจาก ไม่เห็น ความสำคัญ ในเรื่องนี้

องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)
โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )
ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย
สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม

ไม่มีความคิดเห็น: