เทคโนโลยี (Technology)
ความหมายและประเภท
เทคโนโลยีเป็นการเชื่อมระหว่างความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต และการกระจายสินค้าหรือบริการ เทคโนโลยีรวมอยู่ในกิจกรรมทั้งหมดขององค์การหรือสำนักงานและอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเกิดนวัตกรรมของสำนักงานเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมี 2 ชนิด คือ
1.Quantum Technologyical Change เป็นการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีแบบพื้นฐาน ซึ่งมีผลต่อนวัตกรรมของสินค้าและบริการใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การพัฒนาของ Internet และการพัฒนาของวิศวพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า Biotechnology
2.Incremental Technology Change เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลั่นกรองเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและนำไปสู่การปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อย ตัวอย่างเช่น บริษัท Intel มีการปรับปรุงไมโครโปรเซสเซอร์เป็นลำดับจากเริ่มต้น 4004 8088 8086 286 386 486 และ Pentium6 เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีข้อมูลหรือสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) กล่าวถึงกระบวนการการปฏิบัติหรือระบบใดๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการและการเคลื่อนย้ายข้อมูล ปัจจุบันทุกคนมีความคุ้นเคยกับองค์ประกอบสมัยใหม่ของ IT เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) การใช้ Internet,E-mail เป็นต้น IT มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจนเห็นได้ชัด ในธุรกิจนำ IT มาช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับกลยุทธ์ใหม่ การเข้าถึงลูกค้าและลดต้นทุน ส่วนคำว่าระบบข้อมูล (Information system หรือ IS) เป็นผลรวมของเทคโนโลยี มนุษย์ และองค์การ
ประโยชน์ของเทคโนโลยี
IT มีประโยชน์และสามารถนำมาช่วยสร้างสำนักงานได้หลากหลาย อาทิ
1.ใช้ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เช่น Robotics CAD CAM
2.เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ เช่น JIT Scheduling Program
3.พัฒนาสำนักงานอัตโนมัติ เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ
4.เครือข่ายคอมพิวเตอร์กว้างไกลขึ้น เช่น LAN WAN Internet Gropware
5.ช่วยในการควบคุม วางแผน และตัดสินใจ เช่น DSS Simultion
6.สร้างความได้เปรียบการแข่งขัน
อุปสรรคของเทคโนโลยี
ทำให้การปฏิบัติงานของ IT ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
(1)ปัญหาด้านเทคโนโลยี โดยขาดมาตรฐานความคงที่ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้เกิดความลำบากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันในระบบเครือข่าย เช่น แฟ้มในคอมพิวเตอร์ไม่สามารถย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ เพราะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คนละบริษัทที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน เป็นต้น
(2)การต่อต้านจากผู้ใช้ เหตุผงเบื้องต้นคืด เกิดความกลัวเทคโนโลยี (เรียกว่า Technophobia) ไม่ชอบใช้เทคโนโลยี และขาดการสนับสนุนจากพนักงานภายในสำนักงาน การต่อต้านจะลดลงได้ถ้ามรการชี้แจงหรือให้การศึกษา หรือฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์
(3)การคัดค้านทางการเมือง เพราะอิทธิพลของ IT อาจทำให้เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้นคัดค้าน โดยใช้ยุทธวิธีต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการนำทรัพยากรไปใช้ หันเหเป้าหมายโครงการ IT และเพิกเฉยหรือละเลยงานในส่วนนั้นอย่างเจตนา เป็นต้น
ข้อจำกัดของเทคโนโลยี
อาจพบเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดข้อจำกัดของเทคโนโลยี ดังนี้
(1)ขาดความอิสระเพราะการพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ข้อมูลและสาระที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์อาจถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากระบบไฟฟ้า หรือภัยธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง "Bug" ใน Software เป็นต้น
(2)ขาดมนุษยสัมพันธ์ในสำนักงาน รวมทั้งลูกค้าและแขกผู้มาเยือน(Visitors) เพราะ IT ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสาร แบบพบหน้าหรือเผชิญหน้า (Face - to - Face)
ผลกระทบของเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งในชีวิตการทำงานและในชีวิตส่วนตัว ธุรกิจหลายชนิดและนำเสนอเทคโนโลยีในเชิงนวัตกรรม ประสบความสำเร็จและมีเติบโตสูงมากในปัจจุบัน เช่น Microsoft, Inter, Motorola, Matorola, Matsushita, Wal-Mart, Sony เป็นต้น ขณะที่ธุรกิบางแห่งได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง จึงเห็นได้ว่าการเทคโลโลยี เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ขณะที่ด้านหนึ่งช่วยสร้าง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นอุปสรรคที่สามารถทำลายความต้องการสินค้าหรือบริการแบบเดิม นอกจากนี้เทคโนโลยียังมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในองค์การหรือสำนักงานในเชิงลบ เพราะเกรงว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่น มาใช้แทนคน
เทคโนโลยียังมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสำนักงาน เช่น โครงสร้าง และวิธีการตอบสนองต่อลูกค้า เป็นต้น
การจัดการกับเทคโนโลยี
ผู้บริหารสำนักงานมีวิธีการบริหารเทคโนโลยีหลายรูปแบบ ตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขอุปสรรคและข้อจำกัดบางประการ ดังนี้
1.คำนึงถึงเป้าหมายหลักขององค์การและวิเคราะผลในการนำเทคโนโลยีมาใช้
2.ตรวจสอบเทคโนโลยีที่ใช้อยู่
3.สร้างระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงานกับเทคโนโลยี
4.เน้นความเข้าใจที่ถูกต้องกับเทคโนโลยีให้พนักงานได้ทราบ
ระบบข้อมูลหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงสำนักงานในอนาคต เพราะช่วยให้มีความสามารถในการออกแบบโครงสร้าง ขอบเขต ความสัมพันของอำนาจสายทางเดินของงาน สินค้า และบริการใหม่ๆ มีคั้งแต่ Global Network Enterprise Network การคำนวนที่หลากหลาย กราฟิกสำหรับผู้ใช้และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน(Interface) และที่สำคัญนำมาช่วยสนับสนุนระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้บรรลุผลอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ของแต่ละสำนักงาน เพราะเทคโนโลยีที่นำมาเปลี่ยนแปลงมากจะมีผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน ผู้บริหารสำนักงานจึงควรพิจารณาไตร่ตรองและคำนึงถึงประเด็นสำคัญนี้ เพื่อสำนักงานที่ในอนาคต
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551
Reengineering

การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การ ไมเคิล แฮมเมอร์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Reengineering The Corporation ในปี 1993 ริเอ็นจิเนียริ่ง หรือ การรื้อปรับระบบ มีความหมายหลายความหมาย ดังนี้
1. หมายถึง การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน การทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนาน แล้วหากระบวนการใหม่ที่ทันสมัย ตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ
2. หมายถึง การพิจารณาพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้ง อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ติดอยู่กับกฎข้อบังคับเดิม
3. หมายถึง รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคน เป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจกรรมขึ้นมาใหม่ การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์กร ทั้งการตลาด การผลิต บุคลากร การบริการและทุกระบบ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ซึ่งมีหลักการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง 3 ประการ คือ
1. กระบวนการใดที่มีปัญหาหนักมากที่สุด
2. กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด
3. ความเป็นไปได้ที่จะประสบผู้สำเร็จในการเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ
2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน
3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน
4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ
5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง
6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน
รีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อให้องค์กรอยู่รอด
ความจำเป็นที่จะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีเอ็นจิเนียริ่งได้สรุปถึงสถานการณ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่องค์กรจะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ดังนี้ เมื่อผลการปฏิบัติงานหรือยอดขาย (กำไร) ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่ำกว่าคู่แข่งมาก เมื่อองค์กรเผชิญกับภาวะวิกฤต (Crisis) เช่น ส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก เมื่อองค์กรต้องการผลลัพธ์ (ของการปรับรื้อระบบ) อย่างรวดเร็วและได้ผลมากกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องการผลมหาศาล เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดขององค์กร เมื่อคู่แข่งได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขึ้นใหม่ได้ดำเนินการไปก่อนแล้ว ทำให้ต้องปรับปรุงไปตามด้วย
5 ขั้นตอน ของการรีเอ็นจิเนียริ่ง
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคต และมีความชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของ กระบวนการปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกระบวนการใหม่
ขั้นตอนที่ 5 การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ตัวอย่างผลของการ reengineering ของไทยพาณิชย์
1. หมายถึง การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน การทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนาน แล้วหากระบวนการใหม่ที่ทันสมัย ตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ
2. หมายถึง การพิจารณาพื้นฐานและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้ง อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ติดอยู่กับกฎข้อบังคับเดิม
3. หมายถึง รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคน เป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจกรรมขึ้นมาใหม่ การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์กร ทั้งการตลาด การผลิต บุคลากร การบริการและทุกระบบ ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ซึ่งมีหลักการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง 3 ประการ คือ
1. กระบวนการใดที่มีปัญหาหนักมากที่สุด
2. กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด
3. ความเป็นไปได้ที่จะประสบผู้สำเร็จในการเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
1. ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ
2. ต้องอาศัยริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน
3. สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน
4. การออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ
5. การดำเนินการกับที่ปรึกษา ควรให้เข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในองค์การเพื่อถ่ายทอดให้ถึงระดับล่าง
6. การผนวกกิจกรรมของระดับบนสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกัน
รีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อให้องค์กรอยู่รอด
ความจำเป็นที่จะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีเอ็นจิเนียริ่งได้สรุปถึงสถานการณ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่องค์กรจะต้องทำการรีเอ็นจิเนียริ่ง ดังนี้ เมื่อผลการปฏิบัติงานหรือยอดขาย (กำไร) ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่ำกว่าคู่แข่งมาก เมื่อองค์กรเผชิญกับภาวะวิกฤต (Crisis) เช่น ส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก เมื่อองค์กรต้องการผลลัพธ์ (ของการปรับรื้อระบบ) อย่างรวดเร็วและได้ผลมากกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องการผลมหาศาล เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดขององค์กร เมื่อคู่แข่งได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขึ้นใหม่ได้ดำเนินการไปก่อนแล้ว ทำให้ต้องปรับปรุงไปตามด้วย
5 ขั้นตอน ของการรีเอ็นจิเนียริ่ง
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคต และมีความชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของ กระบวนการปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกระบวนการใหม่
ขั้นตอนที่ 5 การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ตัวอย่างผลของการ reengineering ของไทยพาณิชย์
แพ้น้ำใจ...ไทยพาณิชย์ 

ปกติไม่ค่อยได้แวะเวียนเข้าไปในธนาคารใดๆ ซักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้บริการธนาคารกรุงไทย เพราะใช้บัตรเครดิตเค้าอยู่ วันนี้ไปกินข้าวที่หน้ามอ. พร้อมกับลูกชาย เดินและวิ่งย่อยอาหารกลางวัน มาจนถึงธนาคารไทยพาณิชย์ในมหาวิทยาลัย เลยแวะเอาเงินไปฝากตามประสาคนเงินเหลือ (นี่ๆ ในชีวิตจริงจะมีโอกาสพูดแบบนี้บ่อยมั้ยนี่ น้ำหน้าคนอย่างฉัน หุหุ)
จำได้ว่าเป็นลูกค้าของที่นี่ตั้งแต่เข้ามาทำงานในวันแรกๆ เพราะต้องมาเปิดบัญชีเงินเดือนไว้ และจำได้อีกว่าเมื่อสองปีก่อนได้รับการบริการที่ไม่ค่อยน่าประทับใจแบบเลือกปฏิบัติของพนักงาน แต่มาวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อยากจะยกมือไหว้ขอบคุณ คุณผู้หญิงที่เป็นคน reengineering ธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นอย่างเช่น ณ วันนี้
แต่เนื่องจากเคยอ่านผ่านตามานานแล้ว เลยจำชื่อเค้าไม่ได้ จำได้แค่ว่า เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่งเท่านั้น เอาไว้วันหลังถ้าไม่ลืม จะมา update เรื่องราวการรีเบรนและองค์กรของไทยพาณิชย์ให้ฟัง แต่วันนี้แค่เดินเข้าไปในธนาคาร มีคนช่วยเปิดประตูให้ มีพนักงานเข้าทักทาย และอาสากรอกใบฝากให้ แต่ขอกรอกเองดีกว่าเพราะไม่ได้เอาสมุดบัญชีมา ต้องมาสกดชื่อให้คนอื่นเขียนให้ก็รู้สึกเกรงใจเหมือนกัน
เมื่อพาลูกชายไปด้วย เด็กชายเลยได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เชิญไปนั่งเก้าอี้สีม่วงของเด็ก พนักงานถามว่าทานลูกอมไหมค่ะ แชทตอบว่า ไม่กินครับ มันหวานเดี๋ยวฟันหลอ พนักงานยังไม่ลดละ ถามว่าแล้วคุณแม่ทานได้ไหมค่ะ แชทตอบว่า แม่ก็กินไม่ได้ครับ เพราะกินแล้วอ้วน แป่ว!!!! เลย ไม่ต้องไปบอกรายละเอียดเค้าขนาดนั้นก็ได้ลูกชั้น!!! ทำเอาแม่อายไปเลย : P
ฝากเงินเสร็จแล้ว กำลังจะกลับ แชทมากระซิบว่า อยากได้หมี teddy สีม่วงที่ตั้งโชว์อยู่ แต่คงกระซิบดังไปหน่อย คุณผู้จัดการใหญ่และพนักงานสาวอีกสองคน เลยกรูมาหาแม่ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการจะได้หมีอย่างรวดเร็วและครบถ้วน แม่รับคำอย่างงงๆ ควักเงินในกระเป๋า เพื่อเปิดบัญชีให้แชท และยังต้องถูกหักเงินเดือนอีก 36 เดือน เพื่อเป็นเงินฝากสำหรับทุนการศึกษาลูก
เวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วกระพริบตา ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ขณะที่รอก็มีทีวีให้ดู เสียงนางร้ายและนางเอกทะเลาะกันแว้ดๆ ในทีวี คุณพี่พนักงานผู้หญิงรีบเปลี่ยนช่องให้ทันที เกรงว่าคำด่าของนางร้าย จะระคายหูลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เค้ากำลังมุ่งมั่นจะเป็น world class กัน เลยมีการปรับเปลี่ยนกันตั้งแต่พนักงาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด
ทำให้ความประทับใจและประหลาดใจ เกิดกับลูกค้าหลายๆ คน รวมถึงฉันและลูกชาย ขนาดยอมเปิดบัญชีใหม่ เพื่อจะได้อุ้มหมีสีม่วงออกมาตัวหนึ่ง อยากให้องค์กรของฉันเป็นแบบนี้บ้างจัง ทุกคนมี "จิตบริการ" กันถ้วนทั่ว ไม่ใช่ว่าคนที่เต็มใจให้บริการก็ทำแทบตาย แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยคิดจะช่วยกันเลย ให้ตายสิ!!! บ่นไปก็คงเท่านั้น ของแบบนี้มันคงอยู่ที่ "น้ำใจ" ของแต่ละคนมั้ง!!!
จำได้ว่าเป็นลูกค้าของที่นี่ตั้งแต่เข้ามาทำงานในวันแรกๆ เพราะต้องมาเปิดบัญชีเงินเดือนไว้ และจำได้อีกว่าเมื่อสองปีก่อนได้รับการบริการที่ไม่ค่อยน่าประทับใจแบบเลือกปฏิบัติของพนักงาน แต่มาวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อยากจะยกมือไหว้ขอบคุณ คุณผู้หญิงที่เป็นคน reengineering ธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นอย่างเช่น ณ วันนี้
แต่เนื่องจากเคยอ่านผ่านตามานานแล้ว เลยจำชื่อเค้าไม่ได้ จำได้แค่ว่า เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่งเท่านั้น เอาไว้วันหลังถ้าไม่ลืม จะมา update เรื่องราวการรีเบรนและองค์กรของไทยพาณิชย์ให้ฟัง แต่วันนี้แค่เดินเข้าไปในธนาคาร มีคนช่วยเปิดประตูให้ มีพนักงานเข้าทักทาย และอาสากรอกใบฝากให้ แต่ขอกรอกเองดีกว่าเพราะไม่ได้เอาสมุดบัญชีมา ต้องมาสกดชื่อให้คนอื่นเขียนให้ก็รู้สึกเกรงใจเหมือนกัน
เมื่อพาลูกชายไปด้วย เด็กชายเลยได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เชิญไปนั่งเก้าอี้สีม่วงของเด็ก พนักงานถามว่าทานลูกอมไหมค่ะ แชทตอบว่า ไม่กินครับ มันหวานเดี๋ยวฟันหลอ พนักงานยังไม่ลดละ ถามว่าแล้วคุณแม่ทานได้ไหมค่ะ แชทตอบว่า แม่ก็กินไม่ได้ครับ เพราะกินแล้วอ้วน แป่ว!!!! เลย ไม่ต้องไปบอกรายละเอียดเค้าขนาดนั้นก็ได้ลูกชั้น!!! ทำเอาแม่อายไปเลย : P
ฝากเงินเสร็จแล้ว กำลังจะกลับ แชทมากระซิบว่า อยากได้หมี teddy สีม่วงที่ตั้งโชว์อยู่ แต่คงกระซิบดังไปหน่อย คุณผู้จัดการใหญ่และพนักงานสาวอีกสองคน เลยกรูมาหาแม่ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการจะได้หมีอย่างรวดเร็วและครบถ้วน แม่รับคำอย่างงงๆ ควักเงินในกระเป๋า เพื่อเปิดบัญชีให้แชท และยังต้องถูกหักเงินเดือนอีก 36 เดือน เพื่อเป็นเงินฝากสำหรับทุนการศึกษาลูก
เวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วกระพริบตา ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ขณะที่รอก็มีทีวีให้ดู เสียงนางร้ายและนางเอกทะเลาะกันแว้ดๆ ในทีวี คุณพี่พนักงานผู้หญิงรีบเปลี่ยนช่องให้ทันที เกรงว่าคำด่าของนางร้าย จะระคายหูลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เค้ากำลังมุ่งมั่นจะเป็น world class กัน เลยมีการปรับเปลี่ยนกันตั้งแต่พนักงาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด
ทำให้ความประทับใจและประหลาดใจ เกิดกับลูกค้าหลายๆ คน รวมถึงฉันและลูกชาย ขนาดยอมเปิดบัญชีใหม่ เพื่อจะได้อุ้มหมีสีม่วงออกมาตัวหนึ่ง อยากให้องค์กรของฉันเป็นแบบนี้บ้างจัง ทุกคนมี "จิตบริการ" กันถ้วนทั่ว ไม่ใช่ว่าคนที่เต็มใจให้บริการก็ทำแทบตาย แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยคิดจะช่วยกันเลย ให้ตายสิ!!! บ่นไปก็คงเท่านั้น ของแบบนี้มันคงอยู่ที่ "น้ำใจ" ของแต่ละคนมั้ง!!!
แหล่งที่มาของข้อมูล
วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551
น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู เกิดจากลำห้วยกล้อท้อไหลมาจากผืนป่าบริเวณทิศตะวัตตกติดชายเแดนพม่า ลำน้ำทั้งสายตกลงจากหน้าผาสูงกลางป่าทึบของป่าทุ่งใหญ่ในเขตพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นน้ำตกที่ยิ่งใหญ่มีชื่อว่า น้ำตก ทีลอซู มีความสูงประมาณ 300 เมตร เมื่อภาพความสวยงามและยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซูปรากฎสู่สายตาแก่นักท่องเที่ยวจึงทำให้ชื่อเสียงของทีลอซูโด่งดังในเวลาอันรวดเร็ว ผู้คนมากมายต่างได้ยินเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซู ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมากมายได้เข้าไปสัมผัสแล้วกลับมาบอกเล่าถึงความสวยงาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่น้ำตกทีลอซูที่เคยยิ่งในใหญ่ครั้งนั้นหดหายไปบ้างเนื่องจากเกิดหน้าผาถล่มเพราะฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ปริมาณน้ำมีมาก หน้าผารับน้ำหนักไม่ไหวจึงถล่มพังลงมา นั่นเป็นเวลาที่ผ่านมานานแล้ว ถึงแม้หน้าผาน้ำตกจะถล่มไปแล้วถึงสองครั้งแต่ความสวยงามของที่ลอซูที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ยังสวยงามเกินพอที่นักท่องเที่ยวจะได้เข้าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต
ปัจจุบัน น้ำตก ทีลอซู อยู่ในพื้นที่การดูแลของเขตรักษาพันธุ์ป่าอุ้มผาง น้ำตกทีลอซูไม่ใช่อุทยานแห่งชาติ เป็นเพียงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งมีกฎระเบียบการเข้าไปในพื้นที่เคร่งครัด จุดประสงค์เพื่อปกป้องป่าไว้ไม่ให้ถูกทำลายจากการเข้าไปของมนุษย์
แต่ก่อนนั้นการเดินทางเข้าไปยากลำบาก ต้องล่องแพไม้ไผ่เข้าไปจนถึงจุดหนึ่งซึ่งต้องขึ้นบกและเดินเท้าเข้าไปด้วยความยากลำบาก ต่อมาเริ่มมีถนนดินตัดเข้าไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ แต่เส้นทางก็เพียงถนนดิน เมื่อถึงฤดูฝนถนนก็จะชำรุดเสียหายยากต่อการเดินทาง ปัจจุบันความยากลำบากของการเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูกลายเป็นตำนานเพราะเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงเส้นทางใหญ่ ทำเป็นถนนลูกรังอัดแน่นอย่างดีมิใช่เส้นทางที่มีแต่หล่มโคลนเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ถนนดีเดินทางเข้าไปง่ายแต่ความเป็นธรรมชาติยังคงถูกรักษาไว้ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด ถนนเข้าน้ำตกทีลอซูจะถูกปิดในช่วงฤดูฝนและจะเปิดให้เข้าอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน
ปัจจุบัน น้ำตก ทีลอซู อยู่ในพื้นที่การดูแลของเขตรักษาพันธุ์ป่าอุ้มผาง น้ำตกทีลอซูไม่ใช่อุทยานแห่งชาติ เป็นเพียงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งมีกฎระเบียบการเข้าไปในพื้นที่เคร่งครัด จุดประสงค์เพื่อปกป้องป่าไว้ไม่ให้ถูกทำลายจากการเข้าไปของมนุษย์
แต่ก่อนนั้นการเดินทางเข้าไปยากลำบาก ต้องล่องแพไม้ไผ่เข้าไปจนถึงจุดหนึ่งซึ่งต้องขึ้นบกและเดินเท้าเข้าไปด้วยความยากลำบาก ต่อมาเริ่มมีถนนดินตัดเข้าไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ แต่เส้นทางก็เพียงถนนดิน เมื่อถึงฤดูฝนถนนก็จะชำรุดเสียหายยากต่อการเดินทาง ปัจจุบันความยากลำบากของการเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูกลายเป็นตำนานเพราะเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงเส้นทางใหญ่ ทำเป็นถนนลูกรังอัดแน่นอย่างดีมิใช่เส้นทางที่มีแต่หล่มโคลนเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ถนนดีเดินทางเข้าไปง่ายแต่ความเป็นธรรมชาติยังคงถูกรักษาไว้ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด ถนนเข้าน้ำตกทีลอซูจะถูกปิดในช่วงฤดูฝนและจะเปิดให้เข้าอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน

การล่องแพ ยังเป็นการเดินทางที่เป็นอมตะสำหรับการเดินทางในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เริ่มฤดูฝนไปจนถึง 1 พฤศจิกายน เส้นทางเข้าทีลอซูถูกปิด การเดินทางเดียวที่ทำได้คือการล่องแพ แต่ก่อนใช้แพไม้ไผ่แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เรือยางลำใหญ่ปลอดภัยกว่าและยังเป็นการอนุรักษ์ จากตัวเมืองอุ้มผางจะต้องลงเรือยางล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง ผ่านบ่อน้ำร้อนและแก่งต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือผ่านมีทัศนียภาพที่สวยงามและยังคงเป็นธรรมชาติมากๆ เมื่อล่องมาถึงครึ่งทางนักท่องเที่ยวก็จะได้เห็นความสวยงามของน้ำตกทีลอจ่อที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงลงสู่ลำน้ำแม่กลอง ถัดจากนั้นมาไม่ไกลก็จะผ่านน้ำตกสายรุ้ง หากเดินทางไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบกับละลองน้ำของสายน้ำตก นอกจากนี้ยังมีน้ำตกริมทางให้ได้หยุดแวะเล่นน้ำกันอีกด้วย ระยะเวลาสำหรับการล่องเรือยางประมาณ 3-4 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสน้ำในแต่ละช่วงเวลา เมื่อขึ้นจากเรือยางจะต้องเดินเท้าต่อไปยังจุดกางเต็นท์พักแรมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ประมาณ 1 กิโลเมตรแรกเป็นเส้นทางเดินผ่านป่า ช่วงที่เหลือเป็นถนนลูกรังอัดแน่น สภาพเส้นทางมีขึ้นเนินเป็นบางช่วงโดยเฉพาะช่วงแรกๆ จะเป็นการเดินขึ้นเนินเป็นส่วนใหญ่ ช่วงกลางและท้ายจะเป็นทางลงเนิน วันถัดมาจึงจะได้ชื่นชมกับความงามของน้ำตกทีลอซู ตอนเดินทางกลับก็จะต้องเดินย้อนกลับมาตามเส้นทางเดิมเพื่อกลับมาลงเรือยางล่องต่อไปยังจุดที่ลำน้ำบรรจบกับถนน แล้วขึ้นรถกลับสู่รีสอร์ที่พัก
สำหรับการเดินทางในช่วงเวลาที่ถนนเปิดให้รถเข้าจะมีการเดินทางเป็น 2 แบบ ส่วนใหญ่จะนิยมล่องเรือยางไปยังจุดที่ขึ้นบก จากนั้นก็ขึ้นรถต่อไปยังจุดกางเต็นท์ ขากลับก็นั่งรถกลับตรงไปยังรีสอร์ที่พักในตัวเมืองอุ้มผาง สบายๆ ไม่ต้องเดิน แต่ช่วงเวลานั้นจะมีนักท่องเที่ยวมากในช่วง วันหยุดโดยเฉพาะวันหยุดเทศกาลถ้าหากไปในช่วงเวลาดังกล่าวก็ต้องยอมรับสภาพว่าบรรยากาศของการแค้มปิ้งพักแรมไม่ค่อยดีเท่าไร
อีกแบบหนึ่งสำหรับผู้มีเวลาน้อยและนิยมประหยัด คือการขับรถรวดเดียวจากตัวเมืองอุ้มผางไปยังจุดกางเต็นท์ จากนั้นเดินเท้าเข้าไปเที่ยวน้ำตกแล้วขับรถกลับ
ถึงแม้ช่วงเวลานั้นเส้นทางจะเปิด นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถเข้าไปได้แต่การล่องเรือยางเป็นการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากที่สุดเกือบ 99% ทั้งนี้เพราะการล่องเรือยางเป็นรสชาติของการเดินทางไปน้ำตกทีลอซู เหมือนการเดินทางในรุ่นแรกเริ่ม และนักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของบรรยากาศป่าเขาริมทาง เป็นการเดินทางที่คุ้มค่า
สำหรับการเดินทางในช่วงเวลาที่ถนนเปิดให้รถเข้าจะมีการเดินทางเป็น 2 แบบ ส่วนใหญ่จะนิยมล่องเรือยางไปยังจุดที่ขึ้นบก จากนั้นก็ขึ้นรถต่อไปยังจุดกางเต็นท์ ขากลับก็นั่งรถกลับตรงไปยังรีสอร์ที่พักในตัวเมืองอุ้มผาง สบายๆ ไม่ต้องเดิน แต่ช่วงเวลานั้นจะมีนักท่องเที่ยวมากในช่วง วันหยุดโดยเฉพาะวันหยุดเทศกาลถ้าหากไปในช่วงเวลาดังกล่าวก็ต้องยอมรับสภาพว่าบรรยากาศของการแค้มปิ้งพักแรมไม่ค่อยดีเท่าไร
อีกแบบหนึ่งสำหรับผู้มีเวลาน้อยและนิยมประหยัด คือการขับรถรวดเดียวจากตัวเมืองอุ้มผางไปยังจุดกางเต็นท์ จากนั้นเดินเท้าเข้าไปเที่ยวน้ำตกแล้วขับรถกลับ
ถึงแม้ช่วงเวลานั้นเส้นทางจะเปิด นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถเข้าไปได้แต่การล่องเรือยางเป็นการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากที่สุดเกือบ 99% ทั้งนี้เพราะการล่องเรือยางเป็นรสชาติของการเดินทางไปน้ำตกทีลอซู เหมือนการเดินทางในรุ่นแรกเริ่ม และนักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของบรรยากาศป่าเขาริมทาง เป็นการเดินทางที่คุ้มค่า
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
หน่วยแสดงผล (Output Unit)หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็หายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์ จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นจอภาพที่ใช้หลักการเรืองแสงเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในผลึกเหลว ทำให้จอภาพมีความหนาไม่มาก น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่จะขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม และActive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin File Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่า ในปัจจุบันจอภาพ
แบบ TFT เริ่มนิยมนำมาใช้แทนจอภาพ CRT มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากราคาเริ่มต่ำลง ในขณะที่มีข้อดีคือใช้เนื้อที่ในการวางน้อย น้ำหนักเบา กินไฟต่ำ และมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก
อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังแสงสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูงภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุด คิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนดการวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็หายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ

จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์ จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นจอภาพที่ใช้หลักการเรืองแสงเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในผลึกเหลว ทำให้จอภาพมีความหนาไม่มาก น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่จะขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม และActive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin File Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่า ในปัจจุบันจอภาพ
แบบ TFT เริ่มนิยมนำมาใช้แทนจอภาพ CRT มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากราคาเริ่มต่ำลง ในขณะที่มีข้อดีคือใช้เนื้อที่ในการวางน้อย น้ำหนักเบา กินไฟต่ำ และมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก
อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังแสงสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูงภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุด คิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนดการวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)

หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์
เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้เป็นสองชนิด คือ 1. เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 
เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน 2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-page per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของงานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)

เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน 2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-page per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของงานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)

เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สี ได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกในปัจจุบันจะมีคุณภาพ ในการพิมพ์ต่างกันไปตามเทคโนโลยีการฉีดหมึกและจำนวนสีที่ใช้ โดยรุ่นที่มีราคาต่ำมักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ำเงิน (cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คุณภาพของสีดำที่ไม่ดีนัก จึงมีเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่าที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดำ (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกในปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ำเงินอ่อน (light cyan) และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น และบางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดำจางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุดจะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้ว เพิ่มความร้อน
ให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้ เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก
ให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้ เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก

เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาดเส้นสายต่าง ๆ ทำให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทำให้ได้เส้นที่ไม่ต่อเนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ที่ต้องการความสวยงามและความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียน ในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก 

แหล่งข้อมูล
http://www.tutor-tan.com/article/detail_article.php?aid=333
http://www.tutor-tan.com/article/detail_article.php?aid=333
วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ
ความนำ
ในวงการสถาปัตยกรรมปัจจุบัน มีเรื่อง เกี่ยวกับ เทคโนโลยี อาคาร ที่กำลัง
เป็นที่สนใจ อย่างมาก เรื่องหนึ่ง คือ การออกแบบ อาคาร อัจฉริยะ หรือ
Intelligent building โดย เป็นเรื่องที่ กำลัง อยู่ ในความ สนใจ ของสถาปนิก
ทั่วโลก มีข่าวว่า ที่ประเทศในแถบ ยุโรป ได้จัดตั้ง กลุ่มที่ เกี่ยวกับ เรื่องนี้
โดยเฉพาะ มีชื่อว่า “European Intelligent Building Group” มีการประชุม และ
สัมมนา ทางวิชาการ เรื่องนี้ หลายครั้ง ใน หนึ่งปี รวมทั้ง สถานศึกษา หลาย
แห่ง ในต่างประเทศ เปิดสอนวิชา เทคโนโลยี การออกแบบ อาคารอัจฉริยะ
ในระดับ ประกาศนียบัตร (Diploma) อีกด้วย จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็น
ว่า ในต่างประเทศ มีการตื่นตัวในเรื่องนี้กันอย่างมาก
บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะโดยสังเขปเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เนื่องจากเมื่อราว 4-5ปี ที่ผ่านมา มีการ
นำ คำๆนี้ ไปใช้ผิดความจริง เป็นอย่างมาก ในการโฆษณาขายอาคาร เจ้าของอาคารเกือบทุกอาคารในขณะนั้นจะกล่าวอ้างว่าอาคารของตน
เป็นอาคารอัจฉริยะ โดยหวัง สร้างภาพ เพื่อผลในการขาย พื้นที่ ทำให้ผู้คนทั่วไป เกิดความสับสน และ เข้าใจผิดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นบทความนี้ยังมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่สนใจเรื่องเรื่องนี้ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
อาคารอัจฉริยะคืออะไร
ในการเรียกตึกว่าเป็นอาคารอัจฉริยะนั้นเราใช้เรียกในแง่ตรงข้ามกับที่ใช้ในวงการกล้องถ่ายรูป ตัวอย่างเช่น กล้องที่ใช้งานง่ายๆ เป็นระบบ
อัตโนมัติ ทั้งหมด โดยคนใช้ไม่ต้องทำอะไร นอกจากเล็งภาพ กดปุ่ม เราเรียกกล้อง ชนิดนี้ว่า กล้องปัญญาอ่อน ไม่ยักเรียกว่า กล้องอัจฉริยะ
ซึ่งน่าจะเรียกชื่อนี้ มากกว่า น่ากลัวคนตั้งชื่อ จะประชดคนใช้งาน เสียมากกว่า กระมัง ถือเป็นโชคดีที่วงการอสังหาริมทรัพย์ไม่ตามอย่างการ
เรียกชื่อในวงการกล้องถ่ายรูป ขืนใช้ แนวทางเดียวกันคงไม่มีใคร มาซื้อตึก หรือเช่าพื้นที่ในอาคาร แบบนี้เป็นแน่
อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech Real
Estate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้น
ฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย ไม่แน่ว่า
ฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “Genius Architectural” ก็ได้
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ
“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุม
อุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา โดยเจ้าของอาคาร และ ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการควบคุมนี้ โดยการสั่งการทำงานของอุปกรณ์
ต่างๆได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางนั่นเอง นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ และ ระบบ สื่อสารส่วนกลางยังใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆอีกด้วย”
คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคาร
ธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคาร
ได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้ง
จากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ
ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุม
การทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้
สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ
แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำ
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้
ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน
อาคารอัจฉริยะในยุคแรกๆเช่นอาคาร Lloyds นั้นเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น โครงการนี้ ประกอบด้วย ระบบ ควบคุมอาคาร แบบ
อัตโนมัติ ที่ใช้ เทคโนโลยี ใหม่ล่าสุด ในขณะนั้น มีระบบบริหารอาคาร (Building Management System) ชั้นยอด แต่สิ่งที่ขาดไปคือ
ความสามารถในการประสานระบบทั้งหมดให้สามารถทำงานร่วมกัน ระบบส่วนใหญ่ในยุคนั้นถูกออกแบบให้ทำงานแยกกันเป็นอิสระ ปัญหา
ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเจ้าของอาคารไม่เต็มใจที่จะต้องลงทุนในระบบนี้ เนื่องจาก ไม่เห็น ความสำคัญ ในเรื่องนี้
องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)
โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )
ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย
สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม
ในวงการสถาปัตยกรรมปัจจุบัน มีเรื่อง เกี่ยวกับ เทคโนโลยี อาคาร ที่กำลัง
เป็นที่สนใจ อย่างมาก เรื่องหนึ่ง คือ การออกแบบ อาคาร อัจฉริยะ หรือ
Intelligent building โดย เป็นเรื่องที่ กำลัง อยู่ ในความ สนใจ ของสถาปนิก
ทั่วโลก มีข่าวว่า ที่ประเทศในแถบ ยุโรป ได้จัดตั้ง กลุ่มที่ เกี่ยวกับ เรื่องนี้

โดยเฉพาะ มีชื่อว่า “European Intelligent Building Group” มีการประชุม และ
สัมมนา ทางวิชาการ เรื่องนี้ หลายครั้ง ใน หนึ่งปี รวมทั้ง สถานศึกษา หลาย
แห่ง ในต่างประเทศ เปิดสอนวิชา เทคโนโลยี การออกแบบ อาคารอัจฉริยะ
ในระดับ ประกาศนียบัตร (Diploma) อีกด้วย จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็น
ว่า ในต่างประเทศ มีการตื่นตัวในเรื่องนี้กันอย่างมาก
บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะโดยสังเขปเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เนื่องจากเมื่อราว 4-5ปี ที่ผ่านมา มีการ
นำ คำๆนี้ ไปใช้ผิดความจริง เป็นอย่างมาก ในการโฆษณาขายอาคาร เจ้าของอาคารเกือบทุกอาคารในขณะนั้นจะกล่าวอ้างว่าอาคารของตน
เป็นอาคารอัจฉริยะ โดยหวัง สร้างภาพ เพื่อผลในการขาย พื้นที่ ทำให้ผู้คนทั่วไป เกิดความสับสน และ เข้าใจผิดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นบทความนี้ยังมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่สนใจเรื่องเรื่องนี้ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
อาคารอัจฉริยะคืออะไร
ในการเรียกตึกว่าเป็นอาคารอัจฉริยะนั้นเราใช้เรียกในแง่ตรงข้ามกับที่ใช้ในวงการกล้องถ่ายรูป ตัวอย่างเช่น กล้องที่ใช้งานง่ายๆ เป็นระบบ
อัตโนมัติ ทั้งหมด โดยคนใช้ไม่ต้องทำอะไร นอกจากเล็งภาพ กดปุ่ม เราเรียกกล้อง ชนิดนี้ว่า กล้องปัญญาอ่อน ไม่ยักเรียกว่า กล้องอัจฉริยะ
ซึ่งน่าจะเรียกชื่อนี้ มากกว่า น่ากลัวคนตั้งชื่อ จะประชดคนใช้งาน เสียมากกว่า กระมัง ถือเป็นโชคดีที่วงการอสังหาริมทรัพย์ไม่ตามอย่างการ
เรียกชื่อในวงการกล้องถ่ายรูป ขืนใช้ แนวทางเดียวกันคงไม่มีใคร มาซื้อตึก หรือเช่าพื้นที่ในอาคาร แบบนี้เป็นแน่
อาคารอัจฉริยะ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ตั้งแต่ ตึกฉลาด (Smart Building) อาคารเทคโนโลยีชั้นสูง (High Tech Building, High Tech Real
Estate) แต่ชื่อ ที่ฮิตที่สุด คงเป็น “Intelligent building” ซึ่งคนไทยนำมาแปลเป็นคำว่า อาคารอัจฉริยะ จริงๆแล้วคำว่า “Intelligent” ไม่ถึงขั้น
ฉลาดเป็นอัจฉริยะ แต่ เป็นแค่ ฉลาด-รู้จักคิด เท่านั้น คนไทยคงเห็นว่าไม่ขลังเลยยกฐานะให้เป็นอัจฉริยะเสียเลยให้ดูสูงส่งหน่อย ไม่แน่ว่า
ฝรั่งมาเห็น คนไทย ใช้คำแบบนี้ อาจ เปลี่ยนมาเรียกเป็น “Genius Architectural” ก็ได้
ความหมายของอาคารอัจฉริยะมีหลายแง่ แต่คำจำกัดความง่ายๆที่เคยลงในนิตยสาร New York Time มีใจความว่า อาคารตึกฉลาดคือ
“อาคารที่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมองส่วนกลาง มีระบบประสาทที่เป็นสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Sensors) อยู่ ตามบริเวณ ต่างๆ ทั่วอาคาร คอยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถตรวจสอบ,รายงานและควบคุม
อุปกรณ์ของอาคารได้ตลอดเวลา โดยเจ้าของอาคาร และ ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการควบคุมนี้ โดยการสั่งการทำงานของอุปกรณ์
ต่างๆได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางนั่นเอง นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ และ ระบบ สื่อสารส่วนกลางยังใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆอีกด้วย”
คำจำกัดความอื่นๆ เช่น “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคาร
ธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคาร
ได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้ง
จากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ
ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุม
การทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้
สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ
แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำ
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้
ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน
อาคารอัจฉริยะในยุคแรกๆเช่นอาคาร Lloyds นั้นเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น โครงการนี้ ประกอบด้วย ระบบ ควบคุมอาคาร แบบ
อัตโนมัติ ที่ใช้ เทคโนโลยี ใหม่ล่าสุด ในขณะนั้น มีระบบบริหารอาคาร (Building Management System) ชั้นยอด แต่สิ่งที่ขาดไปคือ
ความสามารถในการประสานระบบทั้งหมดให้สามารถทำงานร่วมกัน ระบบส่วนใหญ่ในยุคนั้นถูกออกแบบให้ทำงานแยกกันเป็นอิสระ ปัญหา
ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเจ้าของอาคารไม่เต็มใจที่จะต้องลงทุนในระบบนี้ เนื่องจาก ไม่เห็น ความสำคัญ ในเรื่องนี้
องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)

2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)
โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )
ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย
สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)